ปลาก็เหงาเป็น! สัตว์น้ำในอควาเรียมออสเตรเลียส่งสัญญาณคิดถึงผู้คน

ปลาก็เหงาเป็น! สัตว์น้ำในอควาเรียมออสเตรเลียส่งสัญญาณคิดถึงผู้คน

ปลาก็เหงาเป็น! สัตว์น้ำในอควาเรียมออสเตรเลียส่งสัญญาณคิดถึงผู้คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซิดนีย์, 15 พ.ค. (ซินหัว) — เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียได้สังเกตพบว่าปลาบางตัวแสดงสัญญาณความเหงา หลังพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสั่งปิด เนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

โดยปกติแล้ว พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเมืองแคนส์แห่งนี้คลาคล่ำไปด้วยฝูงชนจำนวนมากทุกวัน พวกมันส่วนมากจึงเคยชินกับบรรยากาศเช่นนั้น สำนักข่าวระดับชาติออสเตรเลีย (AAP) รายงานในวันพฤหัสบดี (14 พ.ค.)

โดยเฉพาะปลาหลายสายพันธุ์ เช่น ฉลาม, ปลาหมอทะเล, ปลากระเบน และ ปลานกขุนทองหัวโหนก ที่ชื่นชอบการมีปฏิสัมพันธ์กับแขกอย่างยิ่ง

เมื่อพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหยุดให้บริการ พนักงานก็สังเกตเห็นปลาบางตัวว่ายไปมาหาผู้คน ขณะที่บางตัวถึงกับหยุดกินอาหารไป ดังเช่นปลาหมอทะเลยักษ์ที่ชื่อ “ชาง”

พอล บาร์นส์ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและนักชีววิทยาทางทะเล ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอพีว่า “เขามีอาการขุ่นเคืองเล็กน้อย ในรอบ 1-2 สัปดาห์ และระหว่างนั้นเขาก็หยุดกินอาหาร”

“เขาเป็นปลาที่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นสุดๆ มีบุคลิกแข็งแกร่ง และชอบจ้องมองผู้คน เฉกเช่นนักประดาน้ำที่อยู่ในตู้ บางครั้งเขาก็พุ่งตรงมา ดูผู้คนชัดๆ และแหวกว่ายไปตามผู้คนที่อยู่รอบๆ “

เนื่องจากชางยังมีสุขภาพแข็งแรงดี เจ้าหน้าที่จึงพยายามไม่กังวลมากเกินไป อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเหงาของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เจ้าหน้าที่จึงได้จัดกิจกรรมกอดใต้น้ำ และรับประทานอาหารกลางวันข้างๆ พวกเขา

แดเนียล ไลพ์นิก หัวหน้าผู้บริหารพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเมืองแคนส์ กล่าวว่า “ฉลามเสือดาวพวกนี้ พวกมันดูท่าทางจะชอบให้อุ้มหรือกอดเหมือนกับลูกสุนัข”

“ปกติเรามีนักดำน้ำทำงานอยู่ 2 คน แต่ตอนนี้เราได้จัดให้เป็น 3 คน เพื่อเพิ่มโอกาสให้พวกปลาได้ใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้นอีกหน่อย และสร้างแรงกระตุ้นพิเศษให้กับพวกมัน”

ทีมงานให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวว่าการที่พวกเขามากินอาหารกลางวันข้างตู้ปลา จะช่วยให้พวกปลาคุ้นเคยกับผู้คน ก่อนที่ทางพิพิธภัณฑ์จะกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง

“เราจะไปนั่งที่นั่นและพูดคุยกับพวกเขาจากด้านนอก” บาร์นส์กล่าว

ทีมงานหวังว่าในไม่ช้า ผู้คนจะสามารถมาร่วมกิจกรรมที่นี่ได้เช่นกัน และหวังว่าทางพิพิธภัณฑ์จะช่วยให้ผู้คนเรียนรู้ความเฉลียวฉลาดและธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้มากขึ้น

“พวกเขามีพลังสมอง แม้จะดูเหมือนไร้อารมณ์ก็ตาม แต่พวกเขาเชื่อมโยงกับผู้คนได้” ไลพ์นิกกล่าวเสริม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook